สรรพคุณและประโยชน์ของลำไย (เยอะจุง)

  1. ลำไย ใช้รับประทานสดเป็นผลไม้ในยามว่าง อร่อยมากๆ
  2. น้ำลำไยช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
  3. ใช้ทำเป็นอาหารก็ได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอยแก้ว วุ้นลำไย เป็นต้น
  4. ลําไยเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงมาก เนื่องจากมีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก
  5. ลําไยมีวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยการบำรุงผิว และเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
  6. ลำไยมีวิตามินบี12 ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
  7. ลำไยมีธาตุแคลเซียมสูง มีส่วนช่วยในเรื่องของกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  8. ลำไยมีธาตุฟอสฟอรัส ที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้
  9. ลำไยมีธาตุโซเดียม ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  10. ลำไยมีธาตุโพแทสเซียม ที่มีช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใสได้ โดยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง
  11. ลำไยมีธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  12. ลำไยมีแร่ธาตุทองแดง ที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน โดยการช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภา
  13. ช่วยให้หลับสบายและช่วยในการเจริญอาหาร
  14. ช่วยรักษาอาการหวัด ด้วยการนำใบมาชงกับน้ำร้อนดื่ม
  15. ช่วยรักษาโรคมาลาเลีย ด้วยนำใบสดประมาณ 20 กรัม น้ำ 2 แก้วผสมเหล้าอีก 1 แก้ว นำมาต้มรวมกันให้เดือดจนเหลือน้ำ 1 แก้วแล้วนำมากิน
  16. ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน ด้วยนำเมล็ดไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วนำมาทา
  17. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ด้วยการนำเปลือกของต้นที่มีสีน้ำตาลอ่อนใช้ต้มเป็นยา
  18. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการนำใบลำไยมาชงกับน้ำร้อนดื่ม
  19. ใช้เป็นยาแก้โรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับหนอง ด้วยการนำใบสดประมาณ 20 กรัมไปต้มกับน้ำดื่ม
  20. แก้ปัญหาอาการตกขาว ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ค้นผสมกิน
  21. ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ค้นผสมกิน
  22. ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ด้วยการนำเมล็ดมาทุบให้แตกแล้วต้มน้ำกิน แต่ต้องลอกเปลือกสีดำออกก่อน
  23. ดอกลำไยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ สลายก้อนนิ่วในไตได้
  24. แก้อาการวิงเวียนศีรษะอ่อนเพลีย เพิ่มความสดชื่น ด้วยนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาต้มน้ำกิน
  25. ช่วยรักษาแผลหกล้ม โดนมีดบาก ด้วยการใช้เมล็ดบดเป็นผงแล้วนำมาพอกห้ามเลือด จะช่วยแก้ปวดได้ด้วย แต่ต้องเอาเปลือกสีดำออกก่อน
  26. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาเผาเป็นเถ้าหรือบดให้เป็นผงแล้วนำมาโรยที่บาดแผล
  27. ช่วยรักษาแผลมีหนอง สมานแผล ห้ามเลือด แก้ปวด ด้วยการนำเมล็ดมาต้มหรือบดเป็นผงนำมารับประทาน
  28. ช่วยรักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้เมล็ดชุบน้ำส้มสายชูที่หมักด้วยข้าวแล้วนำมาถู แต่ทั้งนี้ต้องลอกเปลือกสีดำออกก่อน
  29. ช่วยรักษาแผลเรื้อรังและมีหนอง ด้วยการนำเมล็ดไปเผาเป็นเถ้า แล้วนำมาผสมกับน้ำมะพร้าวทาบริเวณที่เป็น
  30. เป็นยาบำรุงม้ามเลือดลมหัวใจ บำรุงร่างกาย นอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย ด้วยนำเนื้อหุ้มเมล็ดมาต้มน้ำกินหรือนำมาแช่กับเหล้า
  31. ลำไยอบแห้งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง
  32. ช่วยลดอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดขาว
  33. ลำไยมีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  34. มีสารช่วยลดการเสื่อมสลายจากข้อเข่า
  35. มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เพราะไม่มีผลข้างเคียง จะทำให้ลดขนาดการใช้ยาหรือเคมีบำบัดลงได้มาก
  36. ลำไยแห้งมีส่วนช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวได้ดีกว่าการใช้สารเคมี
  37. ลําไยสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น การบรรจุกระป๋อง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย เป็นต้น
  38. เนื้อไม้สีแดงของต้นลำไย มักนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลำไย 2

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลำไย

ลำต้น มี ขนาดลำต้นสูงปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ ต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจะมีลำต้นตรงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีความสูง ประมาณ 12.15 เมตร และถ้าหากเป็นต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งจะแตกกิ่งก้านสาขาใกล้ๆกับพื้น และถ้าได้รับการตัดแต่งกิ่งในขณะที่ต้นยังเล็กมักแตกลำต้นเทียมหลายต้น ลำต้นที่เกิดขึ้นไม่ค่อยเหยียดตรงมักเอนหรือโค้งงอเปลือกลำต้น ขรุขระมีสีเทาหรือสีเทาปนน้ำตาลแดงเป็นสะเก็ด

ใบ เป็นใบรวมที่ประกอบด้วยใบย่อยอยู่บนก้านใบร่วมกัน(pinnately compound leaves) มี ปลายใบเป็นคู่มีใบย่อย 3.-5 คู่ ความยาวใบ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงตัวสลับหรือเกือบตรงข้าม ความกว้างของใบย่อย 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร รูปร่างใบเป็นรูปรีหรือรูปหอก ส่วนปลายใบและฐานใบค่อนข้างป้าน ใบด้านใบมีสีเขียวเข้มกว่า ด้านล่างสากเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย และเห็นเส้นแขนง(vein) แตกออกมาจากเส้นกลางใบชัดเจนและมีจำนวนมาก (ภาพที่ 1-2)

ใบภาพที่ 1 ลักษณะก้านใบลำไย

ใบ2

ภาพที่ 2 ลักษณะใบลำไย

ช่อดอก ส่วนมากเกิดจากตาที่ปลายยอด(terminal bud) บางครั้งอาจเกิดจากตาข้างของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ช่อดอกขนาดกลางจะมีดอกย่อยประมาณ 3,000 ดอก

ช่ิภาพที่ 3 ลักษณะช่อดอกลำไย

ดอก มีสีขาวหรือขาวอมเหลืองมีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีกลิ่นหอม ช่อดอกหนึ่ง ๆอาจมีดอก 3ชนิด (polygamo-monoecious) ดอกตัวผู้ (staminate) ดอกตัวเมีย (pistillate flower) และดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของดอกทั้ง 3 ชนิด คือกลีบดอกบาง 5 กลีบ สีขาว กลีบเลี้ยงหนาแข็ง 5 กลีบมีสีเขียวปนน้ำตาล

ก.ดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้ 6-8 อันเรียงเป็นชั้นเดียวกันบนจานรองดอก(disc) ซึ่ง

มี สีน้ำตาลอ่อนและมีลักษณะอุ้มน้ำ ก้านชูเกสรตัวผู้มีขน เกสรตัวผู้มีความยาวสม่ำเสมอคือยาวประมาณ3-5มิลลิเมตร อับเรณูมี 2 หยัก และเมื่อแตกจะแตกตามยาว(longitudinal dehiscence)

ข. ดอกตัวเมีย ประกอบด้วยรังไข่ที่มี 2 พู(bicarpellate) ตั้งอยู่บนจานรองดอก

เป็นแบบ superior ovary ด้านนอกของรังไข่มีขนปกคุลมอยู่ แต่ละพูจะมีเพียง 1 ช่อง(locule) เท่านั้น ที่จะเจริญเติบโตและพัฒนาจนเป็นผล ส่วนอีกพูหนึ่งจะค่อยๆฝ่อ ในบางกรณีอาจผมไข่ทั้งสองเจริญจนเป็นผลได้ เกสรตัวเมีย(Style)ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ตรงปลายยอดเกสร(stigma) แยกออกเป็น 2 แฉก เห็นได้ชัดเมื่อดอกบานเต็มที่ เกสรตัวผู้มีประมาณ 8 อัน ก้านเกสรตัวผู้เป็นแบบ semi-sessile filament สั้นเพียง 1 มิลลิเมตร อับเรณูของเกสรตัวผู้จะไม่มีการแตกและไม่มีการงอก แต่จะค่อยๆแห้งตายไปหลังดอกบาน

ค. ดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน รังไข่พองเป็

กระเปาะ ค่อนข้างกลม ขนาดเล็กกว่ารังไข่ของดอกเพสเมีย ยอดเกสรตัวเมียจะสั้นกว่าและตรงปลายจะแยกเพียงเล็กน้อยเมื่อดอกบาน ก้านชูอับละอองของดอกสมบูรณ์เพศจะมีความยาวสม่ำเสมอกัน คือ มีความยาวอยู่ระหว่าง 1.5 -3.0 เซนติเมตร ดอกสมบูรณ์เพศสามารถติดผลได้เช่นเดี่ยวกับดอกตัวเมีย

l4ภาพที่ 4 ดอกตัวผู้

l3

ภาพที่ 5 ดอกตัวเมีย

l5

ภาพที่ 6 ดอกสมบูรณ์เพศ

ผล มีผลทรงกลมเบี้ยว เปลือกสีน้ำตาลปนเหลืองหรือปนเขียว ผล สุกมีเปลือกสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอมแดงผิวเปลือกเรียบหรือเกือบเรียบ มีตุ่มแบนๆปกคลุมที่ผิวเปลือกด้านนอกเนื้อลำไยเป็นเนื้อเยื่อพาเรนไคมาที่ เจริญล้อมรอบเมล็ด(outer integument) และอยู่ระหว่างเปลือกกับเมล็ด ซึ่งมีสีขาวคล้ายวุ้น มีสีขาวขุ่น ใสหรือสีชมพูเรื่อๆ มีกลิ่นหอม รสหวาน แตกต่างกันไปตามพันธุ์

เมล็ด มีลักษณะกลมจนถึงแบน เมื่อยังไม่แก่มีสีขาวแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำมันส่วนของเมล็ดทีdragon’ eye) นี้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างกันไปตามพันธุ์ เมื่อผลแก่จัดถ้ายังไม่เก็บเกี่ยว placenta จะใหญ่ขึ้นเนื่องจาก placenta ดูดอาหารขึ้นไปเลี้ยงเมล็ด ทำให้เนื้อเยื่อมีรสชาติจืดลง

นอกจากนี้ ลำไยยังสามารถแบ่งออกได้อีก 3 ลักษณะตามระยะเวลาในการติดดอกออกผลคือ (พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542)

ก.พันธุ์เบา ได้แก่ พันธุ์ดอ

ข.พันธุ์ปานกลาง ได้แก่ พันธุ์แห้ว พันธุ์สีชมพู

ค.พันธุ์หนัก ได้แก่ พันธุ์อีแดง เบี้ยวเขียว และพันธุ์พวงทอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลำไย

long3ชื่อภาษาไทย ลำไย

ชื่อภาษาอังกฤษ Longan

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dimocarpus longen Lour. Euphoria longana Lamk. Nephelium longanum Camb.

วงศ์ Sapindaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำไยเป็นไม้ผลตระกูล Sapindaceae จำแนกได้เป็น 2 สายพันธุ์ (Species) ขึ้นอยู่กับลักษณะของลำต้น ผล และเมล็ด และการใช้ประโยชน์คือ Euphoria longana Lamk. (Ramingwong, 1985; พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542) หรือ Euphoria longana Lour. (Subhadrabunhu, 1990; พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542) หรือ Dimocarpus longan Lour. (Smitinaand,1980 and Wangnai,1983; พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542) ซึ่ง เป็นลำไยที่ปลูกในภาคเหนือของประเทศไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และในภาคอีสานที่จังหวัดนครราชสีมา เลย หนองคาย อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ 2) ลำไยเถา Euphoria scandens Winit.Kerr. (Subhadrabunhu, 1990; พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542) หรือ Dimocarpus longan var.obtusus (Smitinand, 1980; พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542) ใช้เป็นไม้ประดับ โดยจะตัดเป็นพุ่มเตี้ยหรือปลูกเป็นไม้กันลม (พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542)ลำไยกะโหลก

ถึง แม้ว่าลำไยกะโหลกจะมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน แต่ก็สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของไทย ซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าเป็นลำไยทีมีคุณภาพดีที่สุด จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

มีพื้นที่ปลูกลำไยมากที่สุดของประเทศ รวมทั้งปริมาณผลผลิตด้วย Subhadrabunhu, 1990; พงษ์ศักดิ์และคณะ, 2542 จำแนกลำไยออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

1.ลำไยป่า ลักษณะต้นใหญ่ ขนาดผลเล็กมาก ขั้วผลบาง ใช้ในการขยายพันธุ์

2.ลำไยพื้นเมือง ลักษณะลำต้นใหญ่ ผลผลิตสูง ขนาดผลเล็ก ขั้วผลบาง ความหวานน้อย (ประมาณ 13.75 %) คุณภาพต่ำ เมล็ดใหญ่ ใช้เป็นต้นตอ

3.ลำไยปลูก ลักษณะลำต้นขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ขั้วผลหนา มีความหวานสูง (ประมาณ 19.00-23.50 %) คุณภาพสูง เมล็ดเล็ก รับประทานสดหรือแปรรูป

ลำไยที่มีการปลูกในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือลำไยเครือและลำไยต้น (Subhadrabunhu, 1990; พาวินและคณะ, 2547)longan2_re2

1) ลำไยเครือหรือลำไยเถา (Euphoria scandens Winit. Kerr) เป็นลำไยที่มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ ทรงพุ่มคล้ายต้นเฟื่องฟ้า ลำต้นไม่มีแก่น ใบขนาดเล็กและสั้น ผลเล็ก ผิวสีชมพูปนน้ำตาล เมล็ดโต เนื้อผลบางมีกลิ่นคล้ายกำมะถัน ปลูกไว้สำหรับเป็นไม้ประดับมากกว่า พบได้ทั่วไปในแถบภาคตะวันออกของประเทศไทยแถวจังหวัดชลบุรี

2) ลำไยต้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด

2.1 ลำไยดั้งเดิม (Indigenous longan) พบได้ทั่วไปในป่า ปลูกจากเมล็ด เนื้อบางมาก แต่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์

2.2 ลำไยพื้นเมือง (Common or native longan) หรือลำไยกระดูก พบได้ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น เปลือกลำต้นและกิ่ง ขรุขระมาก ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 20-30 เมตร ให้ผลผลิตสูง แต่ผลมีขนาดเล็กรูปร่างค่อนข้างกลม สีน้ำตาล เนื้อบางสีขาวใส คุณภาพผลค่อนข้างต่ำ ปัจจุบันใช้เป็นต้นตอสำหรับพันธุ์ปลูกทั่วไป

2.3 ลำไยกะโหลก เป็นลำไยพันธุ์การค้าที่นิยมปลูกกันทั่วไป ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อหนา มีรสหวาน เมล็ดมีขนาดเล็ก มีหลายพันธุ์ดังต่อไปนี้ ชมพู ดอ ดอก้านแข็ง ดอก้านอ่อน ดอคำลาง ดอแจ้ คอดอยไชย ดอทาน้อย ดอน่าน ดอน้ำผึ้ง ดอบ้านโฮ่ง 60 ดอใบดำ ดอใบหด ดอยอดขาว ดอยอดแดง ดอลุ่มน้ำปิง ดอสร้อย ดอสุขุม ดอหนองช้างคืน ดอหนานขาว ดอหลวง ดอหอม ดอ 13 แดงกลม นราภิรมย์ เบี้ยวเขียว เบี้ยวเขียวเชียงใหม่ เบี้ยวเขียวป่าเส้า ใบดำ ใบหด ใบหยก เพชรเวียงพิงค์ เพชรสาคร เพชรสาครทะวาย แห้ง แห้วแคระ แห้วยอดขาว แห้วยอดแดง เหลือง อีดอ อีดอยอดเขียว อีดอยอดเขียวก้านอ่อน อีดอกยอดแดง อีแดง อีเบี้ยว อีเหลือง อีแห้ว